หลักการออมเงินที่ดี
Lifestyle

ฝึกวินัยในการออมเงินให้มีเงินเก็บ ทำอย่างไรได้บ้าง

หากจะให้กล่าวถึงสิ่งสำคัญที่เป็นรากฐานของหลายๆ สิ่งหลายๆ อย่างของการใช้ขีวิต ก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่องของ “เงิน” อย่างแน่นอนครับ เพราะทุกสิ่งทุกอย่างในสมัยนี้ล้วนแล้วแต่ใช้เงินในการดำเนินการ จนกล่าวได้ว่า “เงินสามารถซื้อความสุข ความสบายได้” ก็ไม่ผิดตรงไหนเลยหล่ะครับ วันนี้เราอยากพาทุกๆ ท่านไปรู้จักกับการ “ฝึกวินัยในการออมเงินให้มีเงินเก็บ ทำอย่างไรได้บ้าง” กันสักหน่อยเพื่อวางแผนการเงินที่ดีในอนาคตครับ

หลักการออมเงินที่ดี

การออมเงินที่ดีนั้น ต้องเริ่มจากการวางแผนและสร้างความมีวินัยในการเก็บเงินก่อนเป็นอันดับแรกครับ เพราะหากไม่มีสองสิ่งนี้ ทุกๆ อย่างก็จะไร้ความหมาย เงินเก็บก็จะถูกใช้จนหมดเลยก็ว่าได้ครับ

หลักการฝึกวินัยในการออมเงิน

●สร้างนิสัยใหม่ให้ “ออมก่อนใช้”  เพราะมนุษย์เงินเดือนนั้นจะสามารถออมเงินได้อย่างสม่ำเสมอ ถ้าต้องการสร้างวินัยการออมนั้นทำได้ง่ายโดยการออมก่อนใช้ ปรับมุมคิดว่าเมื่อได้เงินเข้าบัญชีตอนสิ้นเดือนแล้ว ควรตัดอัตโนมัติเข้าบัญชีเงินออมทันที หลังจากนั้น เราก็จะใช้เงินที่เหลือแค่ใน “บัญชีใช้จ่าย” เท่านั้น

●ทำอย่างต่อเนื่อง  ข้อนี้เป็นหัวใจสำคัญของการสร้างวินัยการออมเงิน เพราะการออมไม่ควรทำแล้วหยุด ทำแล้วหยุด เพราะสุดท้ายเราจะหยุดทำไปจริง ๆ แต่ควรทำ ทำ ทำ…และทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะได้กลายเป็นนิสัยและหลอมรวมให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่ขาดไม่ได้ คล้าย ๆ กับการสมัครฟิตเนสเพื่อไปออกกำลังกาย ช่วงแรก ๆ ก็มีแรงฮึกเหิมอยากจะไป แต่พอมาช่วงหลัง ๆ งานเยอะก็เริ่มขี้เกียจ สุดท้ายก็ไปออกกำลังกายจริง ๆ เพียงไม่กี่ครั้ง ไม่คุ้มกับค่าสมัครสมาชิกที่เสียไป

●ตั้งกฏการใช้เงินออมอย่างเด็ดขาด เพราะนอกจากการออมที่ดีแล้ว หากเราไม่รู้จักหักห้ามตนเองก็ควรที่จะสร้างกฏเกณฑ์เพื่อป้องกันตนไม่ให้ใช้เงินเก็บมากจนเกินงาม เช่น หากเอาเงินออมไปใช้จะต้องคืนเงินส่วนนั้นมากกว่าเดิม 10% และต้องอยู่ในระยะเวลาที่กำหนด เป็นต้น

วิธีออมเงินที่ได้ผลเกินคาด มีเงินเก็บแน่นอน!!

●แบ่งหรือกันเงินเดือน 10% เก็บไว้ก่อนใช้จ่าย

แบ่งเงินออมไว้ 10% จากเงินเดือน สมมติว่าได้เงินเดือน 20,000 บาท ให้แบ่งออมไว้ก่อนเลย 2,000 บาท เมื่อครบปีเท่ากับว่าจะออมเงินได้ถึง 24,000 บาท หากใครที่รายจ่ายรัดตัวจริงๆ อาจเริ่มออมเดือนละ 5% ก่อนก็ได้แนะนำให้เปิดบัญชีเงินฝากดอกเบี้ยสูงอีกบัญชี แยกกับบัญชีเงินเดือน เมื่อเงินเดือนเข้าก็ตั้งโอนล่วงหน้าไปที่บัญชีนั้นเลย
ข้อดี: เก็บเงินได้จริงทุกเดือน และเมื่อแบ่งไว้แล้วจะไม่เบียดเบียนกับค่าใช้จ่ายส่วนอื่น
ข้อเสีย: คนที่มีรายรับแต่ละเดือนไม่เท่ากันอาจจะไม่เหมาะใช้วิธีเก็บเงินแบบนี้ เพราะต้องคอยปรับสัดส่วนเงินออมให้มีเงินใช้จ่ายเพียงพอในแต่ละเดือน

●ทำตามตารางออมเงิน

การทำตารางออมเงิน โดยวางเป้าหมายไว้ เช่น อยากเก็บเงินให้ได้ 5,000 บาท ภายใน  30 วัน ก็สร้างตารางขึ้นมาแล้วกำหนดว่าแต่ละวัน จะต้องเก็บเงินวันละเท่าไหร่?
ข้อดี: ได้วางแผนการเก็บเงินล่วงหน้าให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของตัวเอง เหมาะกับคนที่มีรายได้รายวันและรายเดือน
ข้อเสีย: หากไม่มีเป้าหมายการเก็บเงินที่ชัดเจน ก็อาจทำให้ท้อหรือนำเงินนั้นมาใช้ในที่สุด

และนี้ก็คือข้อมูลเกี่ยวกับการ “ฝึกวินัยในการออมเงินให้มีเงินเก็บ ทำอย่างไรได้บ้าง” ที่เราได้นำมาแบ่งปันท่านผู้อ่านกันในข้างต้น หวังว่าจะสามารถใช้เป็นแนวทางในการออมเงินที่ดีได้ในอนาคตกันนะครับ