กองทุนระหว่างประเทศ
Lifestyle

ทำความรู้จักกับ กองทุนระหว่างประเทศ

ปัจจุบันการเตรียมตัวทางด้านการเงินนั้นมีมากมายหลายแนวทางให้ทุกๆ ท่านได้เลือกที่จะวางแผนทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนหรือการออมด้วยวิธีต่างๆ วันนี้เราเลยอยากจะพาทุกๆ ท่านไปหาความรู้เกี่ยวกับ “กองทุนระหว่างประเทศ” ว่าเป็นอย่างไรกันบ้าง…เพื่อเป็นการไม่เสียเวลา เราไปชมกันดีกว่าครับ

กองทุน คืออะไร?

กองทุน คือ เครื่องมือในการลงทุน (investment vehicle) สำหรับผู้ลงทุนรายย่อย ที่ประสงค์จะนำเงินมาลงทุนในตลาดเงินตลาดทุน  แต่ไม่สามารถลงทุนด้วยตนเองได้ แถมยังไม่ได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายที่ต้องการ ซึ่ง

มีทุนทรัพย์จำนวนจำกัด ไม่สามารถกระจายการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเภทได้มากพอ เพื่อลดความเสี่ยงจากการลงทุน หรือไม่มีประสบการณ์ ความรู้ ความชำนาญในการลงทุนและไม่มีเวลาจะศึกษา ค้นหา และติดตามข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจการลงทุน

กองทุนเงินระหว่างประเทศคืออะไร?

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (อังกฤษ: International Monetary Fund) หรือ ไอเอ็มเอฟ (IMF) เป็นองค์กรที่รัฐบาลของกลุ่มประเทศพันธมิตรได้ร่วมก่อตั้งขึ้น มีฐานะเป็นทบวงการชำนาญพิเศษของสหประชาชาติ โดยมีข้อบังคับว่าประเทศที่จะเป็นสมาชิกธนาคารโลก และจะต้องเป็นสมาชิกของ IMF ด้วย เริ่มเปิดดำเนินการในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1947 ประเทศที่สมัครเป็นสมาชิกกองทุนการเงินฯ จะต้องเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติอยู่ก่อนแล้ว ในปัจจุบันมีสมาชิก 190 ประเทศ (ประเทศอันดอร์รา (Andorra) เป็นสมาชิกอันดับที่ 190 เข้าร่วมเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 2020)

แนะนำ 4 กองทุนที่น่าสนใจและน่าลงทุน

  • กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (Foreign Investment Fund: FIF) เป็นกองทุนรวมที่นำเงินไปลงทุนในต่างประเทศ เพื่อเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนที่เหนือกว่าการลงทุนในประเทศ และยังช่วยกระจายความเสี่ยงจากการลงทุน โดยกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศที่ได้รับความนิยม มักเป็นการลงทุนตามดัชนีสำคัญๆ ของโลก หรือการคัดสรรหุ้นรายตัวที่โดดเด่นในตลาดต่างประเทศ กองทุนรวมประเภทนี้มีความเสี่ยงสูง ถึงสูงมาก และยังมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่นักลงทุนต้องระวัง ก่อนลงทุนควรศึกษาว่ากองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนหรือไม่ด้วย
  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund: RMF) เป็นกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่ส่งเสริมการออมเงินในระยะยาวเพื่อใช้จ่ายยามเกษียณและมีสิทธิลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งมีเงื่อนไขหลักในการลงทุนคือ จะต้องลงทุนอย่างน้อย 5 ปีต่อเนื่องและต้องมีอายุครบ 55 ปี จึงจะสามารถไถ่ถอนหน่วยลงทุนได้  ซึ่งมีนโยบายการลงทุนที่หลากหลายตามประเภทของกองทุนรวมที่กล่าวมาข้างต้น เช่น การลงทุนในตลาดเงิน ตราสารหนี้ หุ้น และทรัพย์สินทางเลือก ฯลฯ
  • กองทุนรวมตราสารทุน หรือ กองทุนรวมหุ้น (Equity Fund) มีนโยบายการลงทุนที่เน้นลงทุนในหุ้น เช่น หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น (warrant) สำหรับกองทุนรวมหุ้นไทยก็จะมีหลากหลายนโยบาย เช่น ลงทุนตามดัชนี SET50, ลงทุนในหุ้นที่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล ฯลฯ กองทุนรวมหุ้นมีความผันผวนสูง จึงเหมาะกับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้มาก สามารถลงทุนระยะยาวได้ และยอมรับการขาดทุนในระยะสั้น
  • กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (Foreign Investment Fund: FIF) เป็นกองทุนรวมที่นำเงินไปลงทุนในต่างประเทศ เพื่อเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนที่เหนือกว่าการลงทุนในประเทศ และยังช่วยกระจายความเสี่ยงจากการลงทุน โดยกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศที่ได้รับความนิยม มักเป็นการลงทุนตามดัชนีสำคัญๆ ของโลก หรือการคัดสรรหุ้นรายตัวที่โดดเด่นในตลาดต่างประเทศ กองทุนรวมประเภทนี้มีความเสี่ยงสูง ถึงสูงมาก และยังมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่นักลงทุนต้องระวัง ก่อนลงทุนควรศึกษาว่ากองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนหรือไม่ด้วย

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “ทำความรู้จักกับ กองทุนระหว่างประเทศ” ที่เราได้นำมาฝากทุกๆ ท่านกันในบทความข้างต้น คิดว่าน่าจะเป็นความรู้ที่ดีกันนะครับ